บทที่ 2: การจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี

Lesson 8/19 | Study Time: 2 Min
บทที่ 2: การจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี

ประเภทของขยะ

  • ประเภทขยะ ตามคำนิยาม ในสถานประกอบการ บริษัทเอกชน ทั่วไป
    • ขยะทั่วไป
    • ขยะอันตราย
    • ขยะติดเชื้อ
  1. การจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี
  • การทำความสะอาดลิฟท์ที่ใช้ขนขยะ (หลังปฏิบัติงานเสร็จ)
  • การทำความสะอาดถังขยะ และรถขนขยะ (หลังปฏิบัติงานเสร็จ)
  • การจัดเก็บ-ขนย้าย ขยะติดเชื้อ-สารเคมี
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานสำคัญ สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด (การจัดเก็บ-ขนย้าย-ทำลาย)

*การจัดเก็บ-ควบคุมควรมีระบบ

  1. วิธีคัดแยก ขยะแต่ละประเภท โดยใช้การชี้บ่งด้วยป้าย หรือสี ของถังขยะ ถุงบรรจุขยะเช่น

ขยะทั่วไป  บ่งชี้ด้วยการใช้ถุงขยะ สีดำ

ขยะรีไซเคิล  บ่งชี้ด้วยการใช้ถุงขยะ สีขาว หรือ สีเขียว

ขยะติดเชื้อ  บ่งชี้ด้วยการใช้ถุงขยะ สีแดง

ขยะพิษ  บ่งชี้ด้วยการใช้ถุงขยะ สีเทา

  1. เจ้าหน้าที่ ที่จัดเก็บขยะติดเชื้อ-สารเคมี จะต้องสวมใส่ PPE ให้เหมาะสม ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
  2. ห้ามใช้มือหรือเท้ากดเหยียบถุงขยะ เพราะอาจทำให้ ถุงขยะแตก หรือของมีคมทิ่มตำ เกิดการติดเชื้อได้
  3. ห้ามยกถุงขยะ ด้วยวิธีอุ้มถุงขยะ (ใช้วิธีจับที่คอถุง บริเวณที่ผูกปิดถุงไว้) และควรตรวจดูถุงขยะ ให้แน่ใจ ว่าถุงไม่รั่ว ผูกคอถุงให้เรียบร้อย ยกและวางใส่ภาชนะ-รถเก็บถุงขยะ อย่างนุ่มนวล
  4. ห้ามหยิบขยะติดเชื้อ-สารเคมี ที่ตกหล่น ด้วยมือเปล่า ควรมีคีมเหล็กคีบ หรือหยิบด้วยมือที่ใส่ถุงมือยาง หรือมีอุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ
  5. ถุงขยะที่ใช้จัดเก็บขยะติดเชื้อ ต้องมีการชี้บ่ง หรือสัญลักษณ์ว่าเป็น “ขยะติดเชื้อ” หรือ “มูลฝอยติดเชื้อ”
  6. ภาชนะที่ใช้บรรจุขยะติดเชื้อประเภทวัสดุมีคม ต้องมีความแข็งแรง ทนต่อการแทงทะลุ และการกัดกร่อนจากสารเคมี มีฝาปิด และป้องกันการรั่วไหลจากของเหลวในภาชนะ
  7. สถานที่จัดเก็บขยะติดเชื้อ-สารเคมี ควรเป็นสถานที่เฉพาะ มีป้ายชี้บ่ง ระบุสถานที่จัดเก็บขยะติดเชื้อ-สารเคมี และป้ายเตือน เพื่อป้องกันผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่

รวมทั้งควรมีวัสดุซับสารเคมี เตรียมไว้ใช้กรณีฉุกเฉิน เนื่องจากสารเคมีหก รั่วไหล

*การขนย้าย

  1. ผู้ทำหน้าที่ขนย้ายขยะติดเชื้อ-สารเคมี ต้องได้รับการอบรม ให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติ
  2. ควรกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่มีความวุ่นวาย หรือความเสี่ยงที่จะเกิดการสัมผัสจากผู้อื่น
  3. กำหนดเส้นทางการขนย้ายที่ชัดเจน ป้องกันไม่ให้รถเข็นขยะเข้าในจุดพื้นที่สะอาด และควรใช้ลิฟท์เฉพาะ ที่ใช้สำหรับการขนย้ายขยะ
  4. ระหว่างเดินทางไปยังสถานที่เก็บกักห้ามแวะหรือพักที่ใด
  5. ควรทำความสะอาดลิฟท์ที่ใช้ในการขนย้าย ถังบรรจุขยะ ห้องพักขยะ หลังการขนย้ายเสร็จสิ้นลง
  6. รถที่ใช้ขนย้ายขยะติดเชื้อ-สารเคมี ควรมีลักษณะดังนี้
  • ไม่มีขอบคมที่อาจเกิดความเสียหายกับถุงขยะ
  • ง่ายต่อการทำความสะอาด มีช่องระบายน้ำ สามารถเปิด-ปิดได้
  • ง่ายต่อการเคลื่อนย้าย (ผลักและดึง)
  • มีขนาดที่เหมาะสมกับปริมาณขยะ
  • มีผนังทึบและมีฝาปิดเพื่อป้องกันสัตว์และแมลง

(กรณีไม่มีรถเข็นตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ ให้ใส่ถุงขยะในภาชนะที่ฝาปิดมิดชิด ก่อนวางบนรถเข็น)

*การกำจัด-ทำลาย

ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เช่น

  1. การกำจัด-ทำลาย โดยหน่วยงานภายนอก ต้องเป็นหน่วยงาน หรือองค์กรที่ได้รับอนุญาต จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
  2. หากสามารถกำจัด-ทำลาย โดยหน่วยงานภายในเอง ต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาต จากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก่อน
  3. ภาชนะที่ใช้บรรจุขยะติดเชื้อ-สารเคมี ต้องไม่นำกลับมาใช้ซ้ำ
  4. ห้ามนำกระป๋องสเปรย์บรรจุสารเคมี มาทุบเพื่อทำลาย
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานสำคัญ สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด (การจัดเก็บ-ขนย้าย-ทำลาย)

การจัดเก็บ-ขนย้าย ขยะติดเชื้อ-สารเคมี

  • สวมใส่ PPE-เตรียมอุปกรณ์-รถขนขยะติดเชื้อ สารเคมี
  • ยกถุงขยะใส่รถขนขยะ ด้วยความระมัดระวัง
  • ขนย้ายมายังสถานที่จัดเก็บ ตามเวลา-เส้นทางที่กำหนด
  • ชั่งน้ำหนัก-บันทึกข้อมูล
  • ยกขยะเข้าสถานที่จัดเก็บ รอหน่วยงานรับผิดชอบรับไปทำลาย

 

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานสำคัญ สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด (การจัดเก็บ-ขนย้าย-ทำลาย)

การทำความสะอาดถังขยะ และรถขนขยะ (หลังปฏิบัติงานเสร็จ)

  • สวมใส่ PPE-เตรียมอุปกรณ์-น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ
  • ล้างทำความสะอาดถังขยะ-รถขนขยะ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ
  • เช็ดรถขนขยะ-ตากถังขยะให้แห้ง ในบริเวณที่กำหนด
  • ทำความสะอาด-จัดเก็บ PPE และอุปกรณ์ น้ำยาที่ใช้งาน
  • จัดเก็บรถขนขยะ-ถังขยะที่แห้ง เพื่อเตรียมใช้งานครั้งต่อไป

 

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานสำคัญ สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด (การจัดเก็บ-ขนย้าย-ทำลาย)

การทำความสะอาดลิฟต์ที่ใช้ขนขยะ (หลังปฏิบัติงานเสร็จ)

  • สวมใส่ PPE-เตรียมอุปกรณ์-น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาฆ่าเชื้อ
  • ตั้งป้ายเตือน-สำรวจพื้นที่ค้นหา เศษขยะ หรือคราบน้ำที่ตกหล่น
  • ทำความสะอาดผนังลิฟต์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
  • ทำความสะอาดพื้นลิฟต์ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป

จัดเก็บป้ายเตือน-อุปกรณ์-น้ำยา-PPE แล้วล้างมือด้วยน้ำสบู่