- ตัวอย่างกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี
มีกฎหมายหลายฉบับ หลายหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล รวมถึงข้อกำหนดมาตรฐานนานาชาติ เช่น ISO, JCI ที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับ การจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี เพื่อลดการสร้างมลพิษ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม-ชุมชน
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
- กฎกระทรวง ว่าด้วยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
- พรบ. ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
- ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560
- ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 25/2547 เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ในนิคมอุตสาหกรรม
ประเภทขยะ/ การคัดแยก
ของเสียไม่อันตราย
- มูลฝอยทั่วไป
- มูลฝอยอินทรีย์
- มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
- สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
- ของเสีย
- ขยะทั่วไป
- ขยะรีไซเคิล
ของเสียอันตราย
- มูลฝอยที่เป็นพิษ หรือเป็นอันตรายจากชุมชน
- มูลฝอยติดเชื้อ
- ขยะติดเชื้อ
- ขยะพิษ
- ขยะอันตราย
- ขยะติดเชื้อ
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
- คุณสมบัติ (จบระดับการศึกษา และสาขาวิชา ที่กฎหมายกำหนด)
- ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน (ได้รับการอบรม ให้มีความรู้ ความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้)
การจัดเก็บ-การควบคุม
- มี PPE ใช้ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
- ภาชนะจัดเก็บ (มีความแข็งแรง ไม่รั่ว แตกหักง่าย)
- สถานที่จัดเก็บ (มีระบบการป้องกัน การหกหล่น รั่วไหล/ ขนาดเหมาะสม)
- การชี้บ่ง-สัญลักษณ์ภาชนะ และสถานที่จัดเก็บ
- การป้องกัน-การตอบสนอง กรณีฉุกเฉิน (ขยะติดเชื้อ-สารเคมีหก รั่วไหล)
- มีวัสดุช่วยควบคุมขยะติดเชื้อ-สารเคมี หก รั่วไหล ไม่ให้สร้างผลกระทบเกิดมลภาวะ
- มีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน-ทบทวนขั้นตอนปฏิบัติ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
การขนย้าย
- มาตรฐานรถขนย้าย
- การกำหนดเวลา และเส้นทางการขนย้าย
- การชี้บ่ง-สัญลักษณ์ภาชนะ และสถานที่จัดเก็บ
- การป้องกัน-การตอบสนอง กรณีฉุกเฉิน (ขยะติดเชื้อ-สารเคมีหก รั่วไหล)
การกำจัด-ทำลาย
- ส่งให้องค์กรที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ เป็นผู้กำจัด-ทำลาย (นำของเสียไม่อันตรายและของเสียอันตราย ออกไปกำจัดโดยหน่วยงานภายนอก)
- ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ ให้กำจัดขยะติดเชื้อ-ของเสียอันตรายได้ (กำจัดโดยภายในองค์กร)
- จัดเก็บหลักฐานการกำจัดของเสีย และสามารถนำมาแสดงให้หน่วยงานราชการที่ขอตรวจสอบได้