สรุปบทเรียน

Lesson 19/19 | Study Time: 13 Min
สรุปบทเรียน

สรุปบทเรียน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม

ความสำคัญของการจัดการขยะ

  • ที่มา/ ความสำคัญ
  • ประเภทของขยะ
  1. การจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี
  • การจัดเก็บ-ควบคุม
  • การขนย้าย
  • การกำจัด-ทำลาย
  1. ตัวอย่างกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี

 

  1. ความสำคัญของการจัดการขยะ

ที่มา/ ความสำคัญ

  • กฎหมาย
  • มาตรฐานรับรอง ที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับนานาชาติ
  • ลดมลพิษ และลดผลกระทบชุมชน ที่พักอาศัย แวดล้อม

ประเภทของขยะ

  • ประเภทขยะ ตามคำนิยาม ในสถานประกอบการ บริษัทเอกชน ทั่วไป
    • ขยะทั่วไป
    • ขยะอันตราย
    • ขยะติดเชื้อ

 

  1. การจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี
  • การทำความสะอาดลิฟต์ที่ใช้ขนขยะ (หลังปฏิบัติงานเสร็จ)
  • การทำความสะอาดถังขยะ และรถขนขยะ (หลังปฏิบัติงานเสร็จ)
  • การจัดเก็บ-ขนย้าย ขยะติดเชื้อ-สารเคมี
  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานสำคัญ สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาด (การจัดเก็บ-ขนย้าย-ทำลาย)

 

  1. ตัวอย่างกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะติดเชื้อ-สารเคมี
  • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548
  • กฎกระทรวง ว่าด้วยการกําจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
  • พรบ. ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560
  • ประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 25/2547 เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ในนิคมอุตสาหกรรม

ประเภทขยะ/ การคัดแยก

  • ของเสียไม่อันตราย
  • ของเสียอันตราย

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน

  • คุณสมบัติ (จบระดับการศึกษา และสาขาวิชา ที่กฎหมายกำหนด)
  • ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน (ได้รับการอบรม ให้มีความรู้ ความสามารถเพียงพอที่จะปฏิบัติงานได้)

การจัดเก็บ-การควบคุม

  • มี PPE ใช้ในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
  • ภาชนะจัดเก็บ (มีความแข็งแรง ไม่รั่ว แตกหักง่าย)
  • สถานที่จัดเก็บ (มีระบบการป้องกัน การหกหล่น รั่วไหล/ ขนาดเหมาะสม)
  • การชี้บ่ง-สัญลักษณ์ภาชนะ และสถานที่จัดเก็บ
  • การป้องกัน-การตอบสนอง กรณีฉุกเฉิน (ขยะติดเชื้อ-สารเคมีหก รั่วไหล)
  • มีวัสดุช่วยควบคุมขยะติดเชื้อ-สารเคมี หก รั่วไหล ไม่ให้สร้างผลกระทบเกิดมลภาวะ
  • มีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉิน-ทบทวนขั้นตอนปฏิบัติ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม

การขนย้าย

  • มาตรฐานรถขนย้าย
  • การกำหนดเวลา และเส้นทางการขนย้าย
  • การชี้บ่ง-สัญลักษณ์ภาชนะ และสถานที่จัดเก็บ
  • การป้องกัน-การตอบสนอง กรณีฉุกเฉิน (ขยะติดเชื้อ-สารเคมีหก รั่วไหล)

การกำจัด-ทำลาย

  • ส่งให้องค์กรที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ เป็นผู้กำจัด-ทำลาย (นำของเสียไม่อันตรายและของเสียอันตราย ออกไปกำจัดโดยหน่วยงานภายนอก)
  • ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการ ให้กำจัดขยะติดเชื้อ-ของเสียอันตรายได้ (กำจัดโดยภายในองค์กร)
  • จัดเก็บหลักฐานการกำจัดของเสีย และสามารถนำมาแสดงให้หน่วยงานราชการที่ขอตรวจสอบได้