บทที่ 2 : การใช้สารเคมี-น้ำยาทำความสะอาดให้ปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Lesson 5/11 | Study Time: 1 Min
บทที่ 2 : การใช้สารเคมี-น้ำยาทำความสะอาดให้ปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

2.  การใช้สารเคมี-น้ำยาทำความสะอาดให้ปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

      2.1  ก่อนนำน้ำยาไปใช้งาน

             2.1.1  ควรอ่านฉลากก่อนใช้น้ำยาทำความสะอาดทุกครั้ง

             2.1.2  ต้องมีเอกสารกำกับด้านความปลอดภัยของสารเคมี-น้ำยา หรือ MSDS (Material safety data sheet) ที่จุดจัดเก็บน้ำยา

ซึ่ง  MSDS จะมีรายละเอียดของเคมีนั้นๆ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากมีการสัมผัส-ได้รับน้ำยาเข้าร่างกายผู้ปฏิบัติงาน อีกด้วย

*MSDS (Material Safety Data Sheet)

*GHS (Globally Harmonized System)

     2.2  ระหว่างการใช้น้ำยา ในการปฏิบัติงาน (1/2)

             2.2.1  หากต้องมีการผสมน้ำยา รวมทั้งในระหว่างปฏิบัติงาน ต้อง สวมใส่อุปกรณ์ป้องตนเอง (PPE) ให้เหมาะสม เช่น ผ้าปิดปาก ปิดจมูก แว่นตาพลาสติกป้องกันน้ำยากระเด็น และถุงมือยาง

             2.2.2  ในการผสมน้ำยา จะต้องอ่านฉลาก หรือคู่มือ ว่าผสมอย่างไร ห้ามผสมน้ำยาตามความพึงพอใจของตัวเองเป็นอันขาด

(ในการใช้น้ำผสมกับน้ำยา ต้องใส่ “น้ำ” ในภาชนะที่ใช้ผสมก่อนจากนั้นจึงเท “น้ำยา” ใส่ตามเสมอ)

เครื่องผสมน้ำยาอัตโนมัติ

ช่วยให้การผสมน้ำยามีอัตราส่วนที่เที่ยงตรงแม่นยำ  ประหยัด ปลอดภัยมากขึ้น และไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

     2.2  ระหว่างการใช้น้ำยา ในการปฏิบัติงาน (2/2)

             2.2.3.  ห้ามผสมน้ำยาที่มีความเป็นกรด ผสมกับน้ำยาที่มีความเป็นด่างเข้าด้วยกันเพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้

             2.2.4.  ห้ามใช้การดมกลิ่น เพื่อให้ทราบว่าเป็นน้ำยาทำความสะอาดชนิดใด

             2.2.5.  ขณะที่ใช้ขวดสเปรย์ ฉีดน้ำยาทำความสะอาด ให้ระวังละอองของน้ำยา ที่อาจถูกลมพัดละอองน้ำยาย้อนเข้าหาผู้ปฏิบัติงาน

             2.2.6.  ห้ามนำภาชนะที่ไม่มีฉลากบ่งชี้ ไปบรรจุน้ำยาโดยเด็ดขาด

             2.2.7.  หากพบว่ามีพนักงานได้รับการสัมผัส หรือ ดื่มน้ำยาทำความสะอาดเข้าไป จะต้องปฐมพยาบาลตามข้อมูลที่ MSDS ระบุ และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมกับเอกสาร MSDS และภาชนะบรรจุน้ำยานั้น มอบให้กับแพทย์ที่ทำการรักษา

เพื่อให้แพทย์ทราบรายละเอียดว่า มีสารเคมีตัวใดเป็นองค์ประกอบ รวมถึงฤทธิ์ของสารเคมีในการทำอันตรายต่อร่างกาย เพื่อแพทย์จะได้รักษาได้ถูกต้อง

    2.3  หลังปฏิบัติงานเสร็จสิ้น

            2.3.1.  จัดเก็บน้ำยาทำความสะอาด ให้พ้นความร้อน หรือประกายไฟ

            2.3.2.  หากน้ำยา ชนิดกระป๋องสเปรย์หมดแล้ว ห้ามกำจัดทิ้ง ด้วยวิธีทุบทำลายกระป๋องดังกล่าวเป็นอันขาด

            2.3.3.  ห้ามจัดเก็บน้ำยาที่มีความเป็นกรด และนำยาที่มีความเป็นด่าง ในพื้นที่เดียวกันเด็ดขาด

            2.3.4.  ควรจัดเก็บ-จัดวางภาชนะบรรจุน้ำยา บนถาดวาง หรือภาชนะที่สามารถรองรับการรั่วไหล หกหล่นได้

            2.3.5.  มีการจัดเตรียมวัสดุ ที่สามารถซับเก็บน้ำยา อย่างเหมาะสมในบริเวณที่จัดเก็บ และมีปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งาน เมื่อน้ำยา  หกหล่น รั่วไหล

            2.3.6.  มีการอบรม และซ้อมแผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุน้ำยาหกหล่น รั่วไหล