สรุปบทเรียน

สรุปบทเรียน

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม

  1. ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับสารเคมี-น้ำยาในการทำความสะอาด
  2. การใช้สารเคมี-น้ำยาให้ปลอดภัย และไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  3. แนวทางปฏิบัติ กรณีฉุกเฉิน เมื่อสารเคมี-น้ำยาหก รั่วไหล หรือเมื่อผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด
  4. ตัวอย่างน้ำยาทำความสะอาด ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

1.ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับสารเคมี-น้ำยาในการทำความสะอาด

ส่วนประกอบหลักของสารเคมี-น้ำยา ทำความสะอาดโดยทั่วไปประกอบด้วย

  • สารลดแรงตึงผิว (Surfactant)
  • กรด (Acid)
  • ด่าง (Alkali)
  • สารลดความกระด้างของน้ำ (Builder)
  • ตัวทำละลาย (Solvent)

2.การใช้สารเคมี-น้ำยาทำความสะอาดให้ปลอดภัยและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ก่อนนำน้ำยาไปใช้งาน

  • อ่านฉลากก่อนใช้น้ำยาทุกครั้ง
  • มี MSDS ที่จุดจัดเก็บน้ำยา

ระหว่างการใช้น้ำยา ในการปฏิบัติงาน

  • ในการผสมน้ำยา ต้องสวมใส่ PPE
  • ในการผสมน้ำยา ต้องอ่านฉลาก หรือคู่มือ
  • ห้ามผสมน้ำยาที่เป็น กรด กับ ด่าง
  • ห้ามใช้การดมกลิ่น
  • ขณะที่ใช้ขวดสเปรย์ ฉีดน้ำยา ให้ระวัง ลมพัดละอองน้ำยาย้อนเข้าหาผู้ปฏิบัติงาน
  • ห้ามนำภาชนะที่ไม่มีฉลากบ่งชี้ ไปบรรจุน้ำยา
  • หากมีพนักงานสัมผัส หรือ ดื่มน้ำยา ต้องปฐมพยาบาล และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมกับเอกสาร MSDS และภาชนะบรรจุน้ำยานั้น

หลังปฏิบัติงานเสร็จสิ้น

  • จัดเก็บน้ำยา พ้นความร้อน หรือประกายไฟ
  • หากน้ำยา ชนิดกระป๋องสเปรย์หมดแล้ว ห้ามกำจัดทิ้ง ด้วยวิธีทุบทำลายกระป๋อง
  • ห้ามจัดเก็บน้ำยาที่เป็นกรด และด่าง ในพื้นที่เดียวกันเด็ดขาด
  • จัดเก็บ-จัดวางภาชนะบรรจุน้ำยา บนถาดวาง หรือภาชนะที่รองรับการรั่วไหล หกหล่นได้
  • จัดเตรียมวัสดุที่สามารถซับเก็บน้ำยา อย่างเหมาะสม
  • มีการอบรม และซ้อมแผนฉุกเฉิน (กรณีเกิดเหตุน้ำยาหกหล่น รั่วไหล)

3.แนวทางปฏิบัติ กรณีฉุกเฉิน เมื่อสารเคมี-น้ำยาหก รั่วไหล หรือเมื่อผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด

   กรณีสารเคมี-น้ำยาหก รั่วไหล 

พบเห็น/ ได้รับแจ้งเหตุ

รายงานผู้บังคับบัญชา/ ผู้ว่าจ้าง

ดำเนินการจัดเก็บ-ทำความสะอาด

1)  กำหนดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการ  (ตั้งป้ายเตือน)

2)  สวมใส่ PPE ให้เหมาะสม และเตรียมอุปกรณ์-น้ำยา

3)  เก็บเศษชิ้นส่วนภาชนะที่แตกหัก (ถ้ามี) และเก็บหรือซับสารเคมี-น้ำยา ด้วยอุปกรณ์ และวัสดุที่เหมาะสม

4)  นำสิ่งที่จัดเก็บใน ข้อ 3) ทิ้งใส่ถุงขยะสารเคมีอันตราย  และมัดปากถุงขยะ (ใบที่ 1)

5)  เทน้ำยาทำความสะอาด และใช้วัสดุซับพื้นผิวให้แห้งสนิท

6)  ทิ้งวัสดุที่ซับสารเคมี-น้ำยา และถุงมือยาง ใส่ถุงขยะสารเคมีอันตราย  และมัดปากถุงขยะ (ใบที่ 2)

7)  ทิ้งถุงขยะสารเคมีอันตรายทั้ง 2 ใบ ในภาชนะรองรับ (ถังขยะสารเคมีอันตราย)

8)  จัดเก็บอุปกรณ์ และทำความสะอาดร่างกาย

รายงานผลการปฏิบัติงาน

กรณีผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด       

พบเห็น/ ได้รับแจ้งเหตุ

รายงานผู้บังคับบัญชา/ ผู้ว่าจ้าง

ช่วยเหลือผู้ป่วย

1) ช่วยปฐมพยาบาล (ตามข้อมูลของ MSDS)

2) นำผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะที่บรรจุสารเคมี-น้ำยา และ MSDS ของสารเคมี-น้ำยา

ติดตามอาการผู้ป่วย/ รายงานผู้บังคับบัญชา

4.ตัวอย่างสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

  1. น้ำยา BIO
  2. น้ำยา FOOD GRADE
  3. น้ำยาชนิดค่าเป็นกลาง (Neutral Detergent)
  4. น้ำยาที่มีโลหะหนัก (Heavy Metal) เป็นส่วนผสมน้อย