แนวทางปฏิบัติ กรณีฉุกเฉิน เมื่อสารเคมี-น้ำยาหก รั่วไหล หรือเมื่อผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด

Lesson 9/11 | Study Time: 12 Min
แนวทางปฏิบัติ กรณีฉุกเฉิน เมื่อสารเคมี-น้ำยาหก รั่วไหล หรือเมื่อผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด

3.  แนวทางปฏิบัติ กรณีฉุกเฉิน เมื่อสารเคมี-น้ำยาหก รั่วไหล หรือเมื่อผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด

      กรณีสารเคมี-น้ำยาหก รั่วไหล 

1. พบเห็น/ ได้รับแจ้งเหตุ

2. รายงานผู้บังคับบัญชา/ ผู้ว่าจ้าง

3. ดำเนินการจัดเก็บ-ทำความสะอาด

  • กำหนดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการ  (ตั้งป้ายเตือน)
  • สวมใส่ PPE ให้เหมาะสม และเตรียมอุปกรณ์-น้ำยา
  • เก็บเศษชิ้นส่วนภาชนะที่แตกหัก (ถ้ามี) และเก็บหรือซับสารเคมี-น้ำยา ด้วยอุปกรณ์ และวัสดุที่เหมาะสม
  • นำสิ่งที่จัดเก็บใน ข้อ 3) ทิ้งใส่ถุงขยะสารเคมีอันตราย  และมัดปากถุงขยะ (ใบที่ 1)
  • เทน้ำยาทำความสะอาด และใช้วัสดุซับพื้นผิวให้แห้งสนิท
  • ทิ้งวัสดุที่ซับสารเคมี-น้ำยา และถุงมือยาง ใส่ถุงขยะสารเคมีอันตราย  และมัดปากถุงขยะ (ใบที่ 2)
  • ทิ้งถุงขยะสารเคมีอันตรายทั้ง 2 ใบ ในภาชนะรองรับ (ถังขยะสารเคมีอันตราย)
  • จัดเก็บอุปกรณ์ และทำความสะอาดร่างกาย

4. รายงานผลการปฏิบัติงาน

       กรณีผู้ปฏิบัติงานสัมผัสสารเคมี-น้ำยาทำความสะอาด   

1. พบเห็น/ ได้รับแจ้งเหตุ

2. รายงานผู้บังคับบัญชา/ ผู้ว่าจ้าง

3. ช่วยเหลือผู้ป่วย

  • ช่วยปฐมพยาบาล (ตามข้อมูลของ MSDS)
  • นำผู้ป่วยส่งแพทย์ พร้อมภาชนะที่บรรจุสารเคมี-น้ำยา และ MSDS ของสารเคมี-น้ำยา

4. ติดตามอาการผู้ป่วย/ รายงานผู้บังคับบัญชา